วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กราฟ

กราฟแสดงพฤติกรรมการใช้เงินในช่วงเวลา 1 เดือน


IPESA

เรื่อง ความมีวินัยกับการใส่ใจคนรอบข้าง


วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

PDCA

แนวคิด PDCAPDCA-4
     PDCA เป็นแนวคิดหนึ่ง ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่การวางแผน แต่แนวคิดนี้เน้นให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจร PDCA ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง W.Edwards Deming ได้นำมาเผยแพร่ ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ วงจรนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “Deming Cycle” 
มาถึงวันนี้คงไม่มีใครบอกว่าไม่รู้จักวงจร PDCA หรือ Deming Cycle โดยเฉพาะในแวดวงของการทำงาน มักจะมีการนำ PDCA เข้ามาประยุกต์ใช้ทั้งการทำงานประจำ และการปรับปรุงงาน

โครงสร้างของ PDCA ประกอบด้วย
     1. Plan หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan การจัดอันดับความสำคัญของ เป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้ การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ การดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
          
     2.Do หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับ การดำเนินการ (เช่น คณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ) มีวิธีการ ดำเนินการ (เช่น มีการประชุมของคณะกรรมการมีการจัดการเรียน การสอน มีการแสดงความจำนงขอรับนักศึกษาไปยังทบวงมหาวิทยาลัย) และมีผลของการดำเนินการ (เช่น รายชื่อนักศึกษาที่รับในแต่ละปี)
          
     3.Check หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมิน ที่ยุ่งยากซับซ้อน    

     4.Act หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีกและสังเคราะห์รูปแบบการดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการในครั้งต่อไป


ผังต้นไม้

ผังต้นไม้ (Tree Diagrams)

     แผนผังต้นไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อแผนผังระบบ (Systematic Diagrams) หรือ Dendrograms เป็นเครื่องมือสำหรับเรียบเรียงความคิด คือการประยุกต์วิธีการที่แรกเริ่ม พัฒนาขึ้นสำหรับการวิเคราะห์หน้าที่งานในวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) วิธีนี้เริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ (เช่น เป้า (Target) เป้าหมาย (Goal) หรือผลงาน (Result)) และดำเนินการพัฒนากลยุทธ์สืบต่อมาเรื่อย ๆ เพื่อการบรรลุผลสำเร็จ โดยนำมาจัดเรียงให้มีรูปร่างลักษณะคล้ายต้นไม้ที่มี "บัตรความคิด" เป็น กิ่ง ก้าน สาขา ดอก ใบ ทำให้มองเห็นภาพแผนผังระบบที่เป็นระบบหลาย ๆ ความคิดเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน


วิธีการสร้างแผนผังต้นไม้
     1. กำหนดหัวข้อ (เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์) ของการระดมสมอง เช่น "จะเพิ่มยอดขายสินค้า A ได้อย่างไร"เขียนไว้ที่ขอบด้านซ้ายตรงระดับกึ่งกลางของกระดาษรองพื้น ขนาดประมาณ A0
     2. ระดมสมองโดยใช้เทคนิค "บัตรความคิด" เพื่อให้ได้ วิธีการ มาตรการ หรือกลยุทธ์ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ (เพิ่มยอดขาย) ให้ได้จำนวนความคิดให้มากที่สุด
     3. รวบรวมหลาย ๆ วิธีการ (ใบ) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่ง มาตรการ (สาขา) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกมาตรการนั้นเพิ่มเติมลงไป
     4. รวบรวมหลาย ๆ มาตรการ (สาขา) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์ (ก้าน) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกกลยุทธ์นั้นเพิ่มเติมลงไป
     5. รวบรวมหลาย ๆ กลยุทธ์ (ก้าน) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่ง แนวทาง (กิ่ง) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกแนวทางนั้นเพิ่มเติมลงไป
     6. จัดเรียงให้มีรูปร่างคล้ายกับต้นไม้ โดยมี เป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ หรือ ทิศทาง เป็น (ลำต้น)


ข้อดีของแผนผังต้นไม้
      1.แผนผังทำให้มีกลยุทธ์สำหรับแก้ปัญหาที่เป็นระบบหรือเป็นตัวกลางในการบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งถูกพัฒนาอย่างมีระบบและมีเหตุผล ทำให้รายการที่สำคัญอันใดอันหนึ่งไม่ตกหล่นไป
     2. แผนผังทำให้การตกลงภายในสมาชิกกลุ่มสะดวกขึ้น
     3. แผนผังนี้จะบ่งชี้และแสดงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน

การวิเคราะห์ 5W2H

5W2H

     คือ การตั้งคำถามในการสำรวจปัญหาและแนวทางการแก้ไขโดยการท้าทายด้วยคำถาม โดยเป็นการคิด วิเคราะห์ ที่ใช้ความสามารถในการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่างๆนำมาหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบต่างๆเพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นความจริง จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลมาจัดระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

องค์ประกอบของ 5W2H
     1.WHAT : สิ่งที่เราจะทำ
     2.WHY   : ทำไมเราจึงทำสิ่งนั้น
     3.WHERE : สถานที่ ที่เราจะทำ
     4.WHEN : ระยะเวลาที่เราจะทำ แล้วเราจะทำเมื่อไร
     5.WHO   : ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง
     6.HOW   : เราจะทำให้บรรลุผลได้อย่างไร
     7.HOW MUCH : งบประมาณ ค่าใช้จ่ายเมื่อเราจะทำ

ประโยชน์ของ 5W2H
     1.ทำให้เราทราบความเป็นไปของเหตุการณ์นั้นๆ
     2.ใช้เป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
     3.ฝึกทักษะการคิดเชิงระบบ
     4.ทำให้เราสามารถประมาณความน่าจะเป็นได้
     5.ทำให้เราหาเหตุและผลของการกระทำของเราได้

ตัวอย่างการใช้ 5W2H ในการบริหารงาน
     1.WHAT
     เราจะผลิตสินค้าอะไร
     2.WHY
     เหตุใดเราถึงผลิตสินค้าประเภทนี้ หรือ ทำไมลูกค้าจึงมีความต้องการในกลุ่มสินค้าประเภทนี้
     3.WHERE
     ทำเลที่ตั้งในการวางขายสินค้าหรือผลิตสินค้า
     4.WHEN
     ระยะเวลาที่ลูกค้าจะต้องการสินค้าของเรา
     5.WHO
     ใครคือกลุ่มลูกค้าหลักของเรา หรือ ใครเป็นผู้รับผิดชอบงานในแต่ละส่วน
     6.HOW
     ทำอย่างไรให้สินค้าของเราจำหน่ายได้ตามเป้า
     7.HOW MUCH
     ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า หรือ การทำงาน

Prezi

โปรแกรม Prezi

     PREZI เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแปลงความคิด(ideas)และแนวคิด(concepts)ออกมาเป็น ภาพที่สามารถมองเห็นได้ซึ่งโปรแกรม PREZI จะมีเครื่องมือการออกแบบที่ช่วยให้ ผู้ใช้สามารถจำแนกการนำเสนอเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานของโปรแกรม Prezi
     1. Pan และ Zoom ตามแนวคิดที่วางแผนไว้
     2. Import media เช่น ภาพ, วิดีโอ, YouTube videos, PDF หรือสื่ออื่นๆ
     3. Full Toolkit โดยสามารถเลือก Template และ/หรือ Theme ในการจัดการนําเสนอ
     4. Present online และ offline สามารถนําเสนอได้ทั้งแบบออนไลน์ และนาเสนอในแบบออฟไลน์
     5. Work together สามารถทํางานแบบร่วมมือแบบเรียลไทม์ (real-time)
     6. Add Storyline สามารถใช้เฟรม (Frame) และเส้นทาง (Path) เพื่อสร้างเส้นทางการนําเสนอ

การลงทะเบียนเข้าใช้งานโปรแกรม
     1. เข้าสู่เว็บไซต์ http://prezi.com 
     2. คลิกปุ่ม Sign up now
     3. คลิกเลือก Student & Teacher โดยใช้ e-mail ของมหาวิทยาลัย เพื่อจะได้พื้นที่การทํางานเพิ่มขึ้น
จาก 100 MB เป็น 500 MB
     4. เลือก Edu Enjoy แล้วคลิกปุ่ม Start Now
     5. ระบุ e-mail สําหรับการติดต่อ จากนั้นคลิกปุ่ม Continue จะปรากฏหน้าจอตอบรับการลงทะเบียน
และให้ท่านยืนยันการลงทะเบียนด้วย e-mail ที่ระบุไว้
     6. ให้เข้าไปที่ e-mail ตามที่ระบุไว้ในขั้นตอนที่ 5 แล้ว copy URL มาวางในช่อง address bar ของ
web browser ที่ใช้งานเพื่อเข้าไปลงทะเบียนในระบบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้ใส่รายละเอียดของผู้สมัคร รวมทั้งให้กําหนด Password เอง จากนั้นคลิกปุ่ม register and continue


โปรแกรม Prezi ต่างจากโปรแกรมPower Point
     1. PowerPoint นำเสนอแบบ linear คือหน้าที่หนึ่ง หน้าที่สอง หน้าที่สาม...ไปเรื่อยๆ
     2. Prezi นำเสนอแบบ zoom คือไม่ได้ไปหน้าหนึ่ง หน้าสองตามลำดับ แต่สามารถกระโดด ไปยังข้อมูลที่เราต้องการจะนำเสนอได้ทันที
     3. Prezi สามารถสร้างงานนำเสนอออนไลน์ได้เลย หรือถ้าไม่สะดวกก็สามารถ ก็สามารถ ดาวน์โหลดมาใช้ที่คอมตัวเองก็ได้
     4. Prezi แทรกรูปภาพได้ เสียงก็ได้ วิดีโอก็ได้ด้วย
     5. ไม่ต้องกังวลว่าจะเปิดไม่ได้ หากไปใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เพราะไฟล์งานจะถูกแปลง เป็น .exe สามารถเปิดได้บนคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

ตัวอย่าง
ผลการค้นหารูปภาพ

ผังความคิด

ผังความคิด หรือ Mind-Map

     คือ การเขียนหรือร่างภาพความคิด หรือ ข้อมูลต่างๆมาสร้างเป็นผัง โดยใช้การโยงใย ภาพ สี เส้น แทนการจดเป็นบรรทัดแบบเดิมๆ

ขั้นตอนการสร้าง Mind Map
     1. เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
     2. เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ
     3. เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ
     4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด
     5. เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน
     6. กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน
     7. คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ

ตัวอย่าง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ mind map

ประโยชน์ของผังความคิด
     1.เห็นภาพรวมของความคิดของเรา
     2.จดจำข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น
     3.พบข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ต้องแก้ไข
     4.ฝึกความคิดอย่างเป็นระบบ
     5.ช่วยในการวางแผนงาน

SWOT

SWOT analysis

  SWOT คือ หลักการบริหารงานทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน การประเมินและวิเคราะห์สถานภาพขององค์กรเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็น เพราะนอกจากจะทำให้ผู้บริหารทราบถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นแล้ว การวิเคราะห์องค์กรยังเป็นการกำหนดกรอบการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้โดยใช้ทฤษฎีที่เรียกว่า SWOT  มาเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์

     SWOT คือ กลยุทธ์หรือเทคนิคด้านการตลาดรูปแบบหนึ่ง มีความหมายมาจากอักษรย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัวได้แก่

     1.Strengths หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายในองค์กร ที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งหรือเป็นจุดแข็งขององค์กรที่จะนำไปสู่การได้เปรียบคู่แข่งขัน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน เช่น จุดแข็งด้านการเงิน ด้านการผลิต ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านคุณภาพของสินค้า นักธุรกิจออนไลน์ต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งเหล่านี้ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด

     2.Weaknesses หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายในองค์กรที่ทำให้เกิดความอ่อนแอ หรือเป็นจุดอ่อน นำไปสู่การเสียเปรียบคู่แข่ง เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพภายในซึ่งนักธุรกิจออนไลน์จะต้องหาวิธีแก้ไขปัญหานั้นให้ได้

     3.Opportunities หมายถึง ปัจจัยต่างๆ ภายนอกองค์กรที่เอื้อประโยชน์ให้ซึ่งเป็นโอกาสที่ช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ เช่น สภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัว ข้อแตกต่างระหว่างจุดแข็งกับโอกาสในการทำธุรกิจก็คือ จุดแข็งเป็นปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในส่วนโอกาสนั้นเป็นผลจากสภาพแวดล้อมภายนอก นักธุรกิจออนไลน์ที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอเพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้นในการเพิ่มยอดขาย

     4.Threats หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายนอกองค์กรที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก นักธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นให้หมดไป

     ซึ่งในใช้หลักการ SWOT ในการวิเคราะห์ปัญหานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
     1. การวิเคราะห์จากปัจจัยภายใน (Internal analysis) โดยเป็นการวิเคราะห์จากจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร
     2. การวิเคราะห์จากปัจจัยภายนอก (External analysis) โดยเป็นการวิเคราะห์จากโอกาสและอุปสรรค ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสังคม การเมือง ประชาชน เศรษฐกิจ เป็นต้น
โดยในการวิเคราะห์ตามหลักการ SWOT ที่ถูกต้องนั้นต้องหาจุดแข็งเพื่อลบจุดอ่อน รวมถึงหากลยุทธ์สร้างความแข็งแกร่ง ภายใต้โอกาสที่เกิดขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากอุปสรรคต่างๆ นั่นเอง
ดังนั้น SWOT จึงเป็นหลักการวิเคราะห์และวางแผนการทำงานขององค์กร เพื่อให้บรรลุความสำเร็จและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งในการวิเคราะห์นั้นต้องวิเคราะห์จากปัจจัยภายในได้แก่ จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร รวมถึงปัจจัยภายนอกได้แก่ โอกาสและอุปสรรค เพราะนอกจากจะสามาระแก้ไขปัญหาภายในและภายนอกองค์กรได้แล้ว ยังทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ผังก้างปลา

ผังก้างปลา หรือ แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)

     เป็นแผนผังที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา (Problem) กับสาเหตุทั้งหมดที่เป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหานั้น (Possible Cause) เราอาจคุ้นเคยกับแผนผังสาเหตุและผล ในชื่อของ "ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) " เนื่องจากหน้าตาแผนภูมิมีลักษณะคล้ายปลาที่เหลือแต่ก้าง "เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลายๆ สาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาหนึ่งปัญหา"
     
     วิธีการสร้างแผนผังสาเหตุและผลหรือผังก้างปลา
       สิ่งสำคัญในการสร้างแผนผัง คือ ต้องทำเป็นทีม เป็นกลุ่ม โดยใช้ขั้นตอน 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
       1. กำหนดประโยคปัญหาที่หัวปลา
       2. กำหนดกลุ่มปัจจัยที่จะทำให้เกิดปัญหานั้นๆ 
       3. ระดมสมองเพื่อหาสาเหตุในแต่ละปัจจัย
       4. หาสาเหตุหลักของปัญหา
       5. จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุ
       6. ใช้แนวทางการปรับปรุงที่จำเป็น


     ข้อดี
     1. ไม่ต้องเสียเวลาแยกความคิดต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายของแต่ละสมาชิก แผนภูมิก้างปลาจะช่วยรวบรวมความคิดของสมาชิกในทีม
     2. ทำให้ทราบสาเหตุหลัก ๆ และสาเหตุย่อย ๆ ของปัญหา ทำให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา

     ข้อเสีย
     1. ความคิดไม่อิสระเนื่องจากมีแผนภูมิก้างปลาเป็นตัวกำหนดซึ่งความคิดของสมาชิกในทีมจะมารวมอยู่ที่แผนภูมิก้างปลา
     2. ต้องอาศัยผู้ที่มีความสามารถสูง จึงจะสามารถใช้แผนภูมิก้างปลาในการระดมความคิด