เรื่อง ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่น
บทสะท้อนคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาG1
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559
PDCA
แนวคิด PDCA![PDCA-4](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_tx_1a6JMUHHhex8tSiCZaxtCBkD5KqDjVaLwQ_E7Hm75aDgEzHwj-0TPf4FKVN5YWA-D7jFYo9p2l6tukNN7u3L_9z3rJFehao-8_0_Hg63kuTHWYNYES4_OR5yr-ysUvfL4Exm6cA=s0-d)
PDCA เป็นแนวคิดหนึ่ง ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่การวางแผน แต่แนวคิดนี้เน้นให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจร PDCA ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง W.Edwards Deming ได้นำมาเผยแพร่ ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ วงจรนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “Deming Cycle”
มาถึงวันนี้คงไม่มีใครบอกว่าไม่รู้จักวงจร PDCA หรือ Deming Cycle โดยเฉพาะในแวดวงของการทำงาน มักจะมีการนำ PDCA เข้ามาประยุกต์ใช้ทั้งการทำงานประจำ และการปรับปรุงงาน
2.Do หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับ การดำเนินการ (เช่น คณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ) มีวิธีการ ดำเนินการ (เช่น มีการประชุมของคณะกรรมการมีการจัดการเรียน การสอน มีการแสดงความจำนงขอรับนักศึกษาไปยังทบวงมหาวิทยาลัย) และมีผลของการดำเนินการ (เช่น รายชื่อนักศึกษาที่รับในแต่ละปี)
3.Check หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมิน ที่ยุ่งยากซับซ้อน
PDCA เป็นแนวคิดหนึ่ง ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่การวางแผน แต่แนวคิดนี้เน้นให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจร PDCA ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง W.Edwards Deming ได้นำมาเผยแพร่ ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ วงจรนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “Deming Cycle”
มาถึงวันนี้คงไม่มีใครบอกว่าไม่รู้จักวงจร PDCA หรือ Deming Cycle โดยเฉพาะในแวดวงของการทำงาน มักจะมีการนำ PDCA เข้ามาประยุกต์ใช้ทั้งการทำงานประจำ และการปรับปรุงงาน
โครงสร้างของ PDCA ประกอบด้วย
1. Plan หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan การจัดอันดับความสำคัญของ เป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้ การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ การดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
2.Do หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับ การดำเนินการ (เช่น คณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ) มีวิธีการ ดำเนินการ (เช่น มีการประชุมของคณะกรรมการมีการจัดการเรียน การสอน มีการแสดงความจำนงขอรับนักศึกษาไปยังทบวงมหาวิทยาลัย) และมีผลของการดำเนินการ (เช่น รายชื่อนักศึกษาที่รับในแต่ละปี)
3.Check หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมิน ที่ยุ่งยากซับซ้อน
4.Act หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีกและสังเคราะห์รูปแบบการดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการในครั้งต่อไป
ผังต้นไม้
ผังต้นไม้ (Tree Diagrams)
แผนผังต้นไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อแผนผังระบบ (Systematic Diagrams) หรือ Dendrograms เป็นเครื่องมือสำหรับเรียบเรียงความคิด คือการประยุกต์วิธีการที่แรกเริ่ม พัฒนาขึ้นสำหรับการวิเคราะห์หน้าที่งานในวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) วิธีนี้เริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ (เช่น เป้า (Target) เป้าหมาย (Goal) หรือผลงาน (Result)) และดำเนินการพัฒนากลยุทธ์สืบต่อมาเรื่อย ๆ เพื่อการบรรลุผลสำเร็จ โดยนำมาจัดเรียงให้มีรูปร่างลักษณะคล้ายต้นไม้ที่มี "บัตรความคิด" เป็น กิ่ง ก้าน สาขา ดอก ใบ ทำให้มองเห็นภาพแผนผังระบบที่เป็นระบบหลาย ๆ ความคิดเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน
2. ระดมสมองโดยใช้เทคนิค "บัตรความคิด" เพื่อให้ได้ วิธีการ มาตรการ หรือกลยุทธ์ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ (เพิ่มยอดขาย) ให้ได้จำนวนความคิดให้มากที่สุด
3. รวบรวมหลาย ๆ วิธีการ (ใบ) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่ง มาตรการ (สาขา) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกมาตรการนั้นเพิ่มเติมลงไป
4. รวบรวมหลาย ๆ มาตรการ (สาขา) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์ (ก้าน) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกกลยุทธ์นั้นเพิ่มเติมลงไป
5. รวบรวมหลาย ๆ กลยุทธ์ (ก้าน) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่ง แนวทาง (กิ่ง) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกแนวทางนั้นเพิ่มเติมลงไป
6. จัดเรียงให้มีรูปร่างคล้ายกับต้นไม้ โดยมี เป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ หรือ ทิศทาง เป็น (ลำต้น)
ข้อดีของแผนผังต้นไม้
1.แผนผังทำให้มีกลยุทธ์สำหรับแก้ปัญหาที่เป็นระบบหรือเป็นตัวกลางในการบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งถูกพัฒนาอย่างมีระบบและมีเหตุผล ทำให้รายการที่สำคัญอันใดอันหนึ่งไม่ตกหล่นไป
แผนผังต้นไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อแผนผังระบบ (Systematic Diagrams) หรือ Dendrograms เป็นเครื่องมือสำหรับเรียบเรียงความคิด คือการประยุกต์วิธีการที่แรกเริ่ม พัฒนาขึ้นสำหรับการวิเคราะห์หน้าที่งานในวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) วิธีนี้เริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ (เช่น เป้า (Target) เป้าหมาย (Goal) หรือผลงาน (Result)) และดำเนินการพัฒนากลยุทธ์สืบต่อมาเรื่อย ๆ เพื่อการบรรลุผลสำเร็จ โดยนำมาจัดเรียงให้มีรูปร่างลักษณะคล้ายต้นไม้ที่มี "บัตรความคิด" เป็น กิ่ง ก้าน สาขา ดอก ใบ ทำให้มองเห็นภาพแผนผังระบบที่เป็นระบบหลาย ๆ ความคิดเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน
วิธีการสร้างแผนผังต้นไม้
1. กำหนดหัวข้อ (เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์) ของการระดมสมอง เช่น "จะเพิ่มยอดขายสินค้า A ได้อย่างไร"เขียนไว้ที่ขอบด้านซ้ายตรงระดับกึ่งกลางของกระดาษรองพื้น ขนาดประมาณ A02. ระดมสมองโดยใช้เทคนิค "บัตรความคิด" เพื่อให้ได้ วิธีการ มาตรการ หรือกลยุทธ์ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ (เพิ่มยอดขาย) ให้ได้จำนวนความคิดให้มากที่สุด
3. รวบรวมหลาย ๆ วิธีการ (ใบ) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่ง มาตรการ (สาขา) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกมาตรการนั้นเพิ่มเติมลงไป
4. รวบรวมหลาย ๆ มาตรการ (สาขา) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์ (ก้าน) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกกลยุทธ์นั้นเพิ่มเติมลงไป
5. รวบรวมหลาย ๆ กลยุทธ์ (ก้าน) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่ง แนวทาง (กิ่ง) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกแนวทางนั้นเพิ่มเติมลงไป
6. จัดเรียงให้มีรูปร่างคล้ายกับต้นไม้ โดยมี เป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ หรือ ทิศทาง เป็น (ลำต้น)
ข้อดีของแผนผังต้นไม้
1.แผนผังทำให้มีกลยุทธ์สำหรับแก้ปัญหาที่เป็นระบบหรือเป็นตัวกลางในการบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งถูกพัฒนาอย่างมีระบบและมีเหตุผล ทำให้รายการที่สำคัญอันใดอันหนึ่งไม่ตกหล่นไป
2. แผนผังทำให้การตกลงภายในสมาชิกกลุ่มสะดวกขึ้น
3. แผนผังนี้จะบ่งชี้และแสดงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน
การวิเคราะห์ 5W2H
5W2H
คือ การตั้งคำถามในการสำรวจปัญหาและแนวทางการแก้ไขโดยการท้าทายด้วยคำถาม โดยเป็นการคิด วิเคราะห์ ที่ใช้ความสามารถในการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่างๆนำมาหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบต่างๆเพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นความจริง จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลมาจัดระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
องค์ประกอบของ 5W2H
1.WHAT : สิ่งที่เราจะทำ
2.WHY : ทำไมเราจึงทำสิ่งนั้น
3.WHERE : สถานที่ ที่เราจะทำ
4.WHEN : ระยะเวลาที่เราจะทำ แล้วเราจะทำเมื่อไร
5.WHO : ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง
6.HOW : เราจะทำให้บรรลุผลได้อย่างไร
7.HOW MUCH : งบประมาณ ค่าใช้จ่ายเมื่อเราจะทำ
ประโยชน์ของ 5W2H
1.ทำให้เราทราบความเป็นไปของเหตุการณ์นั้นๆ
2.ใช้เป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
3.ฝึกทักษะการคิดเชิงระบบ
4.ทำให้เราสามารถประมาณความน่าจะเป็นได้
5.ทำให้เราหาเหตุและผลของการกระทำของเราได้
ตัวอย่างการใช้ 5W2H ในการบริหารงาน
1.WHAT
เราจะผลิตสินค้าอะไร
2.WHY
เหตุใดเราถึงผลิตสินค้าประเภทนี้ หรือ ทำไมลูกค้าจึงมีความต้องการในกลุ่มสินค้าประเภทนี้
3.WHERE
ทำเลที่ตั้งในการวางขายสินค้าหรือผลิตสินค้า
4.WHEN
ระยะเวลาที่ลูกค้าจะต้องการสินค้าของเรา
5.WHO
ใครคือกลุ่มลูกค้าหลักของเรา หรือ ใครเป็นผู้รับผิดชอบงานในแต่ละส่วน
6.HOW
ทำอย่างไรให้สินค้าของเราจำหน่ายได้ตามเป้า
7.HOW MUCH
ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า หรือ การทำงาน
คือ การตั้งคำถามในการสำรวจปัญหาและแนวทางการแก้ไขโดยการท้าทายด้วยคำถาม โดยเป็นการคิด วิเคราะห์ ที่ใช้ความสามารถในการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่างๆนำมาหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบต่างๆเพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นความจริง จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลมาจัดระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
องค์ประกอบของ 5W2H
1.WHAT : สิ่งที่เราจะทำ
2.WHY : ทำไมเราจึงทำสิ่งนั้น
3.WHERE : สถานที่ ที่เราจะทำ
4.WHEN : ระยะเวลาที่เราจะทำ แล้วเราจะทำเมื่อไร
5.WHO : ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง
6.HOW : เราจะทำให้บรรลุผลได้อย่างไร
7.HOW MUCH : งบประมาณ ค่าใช้จ่ายเมื่อเราจะทำ
ประโยชน์ของ 5W2H
1.ทำให้เราทราบความเป็นไปของเหตุการณ์นั้นๆ
2.ใช้เป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
3.ฝึกทักษะการคิดเชิงระบบ
4.ทำให้เราสามารถประมาณความน่าจะเป็นได้
5.ทำให้เราหาเหตุและผลของการกระทำของเราได้
ตัวอย่างการใช้ 5W2H ในการบริหารงาน
1.WHAT
เราจะผลิตสินค้าอะไร
2.WHY
เหตุใดเราถึงผลิตสินค้าประเภทนี้ หรือ ทำไมลูกค้าจึงมีความต้องการในกลุ่มสินค้าประเภทนี้
3.WHERE
ทำเลที่ตั้งในการวางขายสินค้าหรือผลิตสินค้า
4.WHEN
ระยะเวลาที่ลูกค้าจะต้องการสินค้าของเรา
5.WHO
ใครคือกลุ่มลูกค้าหลักของเรา หรือ ใครเป็นผู้รับผิดชอบงานในแต่ละส่วน
6.HOW
ทำอย่างไรให้สินค้าของเราจำหน่ายได้ตามเป้า
7.HOW MUCH
ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า หรือ การทำงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)